การแก้ปัญหาและการเพิ่มความเร็วให้กับฮาร์ดดิสก์แบบเศรษฐกิจพอเพียง
วิธีการแก้ปัญหาและเพิ่มความเร็วให้กับฮาร์ดดิสก์แบบเศรษฐกิจพอเพียง
การเป็นเจ้าของและใช้งานฮาร์ดดิสก์โดยไม่เคยสแกนตรวจสอบก็เหมือนกับการมีรถยนต์คันหรูที่เอาแต่ขับอย่างเดียวไม่เคยเข้าศูนย์บริการ ซึ่งทิปต่อไปนี้สามารถกระทำได้โดยไม่ต้องลงแรงมากนัก เพียงแค่เจียดเวลาสักนิดในการปฏิบัติตาม ทั้งนี้ก็เพื่อให้ฮาร์ดดิสก์ของคุณกลับมามีชีวิตชีวาเหมือนใหม่และทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
1. สแกนหาไวรัส
จัดเป็นข้อควรปฏิบัติที่สำคัญเป็นอันดับต้นๆ ที่คุณควรให้ความสำคัญและหมั่นทำเป็นประจำ เราคงไม่ต้องบอกคุณแล้วว่าไวรัสในปัจจุบันนั้นมีฤทธิ์เดชร้ายแรงแค่ไหน เอาเป็นว่าให้คุณลองนึกถึงตอนที่ไฟล์ข้อมูลสำคัญในฮาร์ดดิสก์ถูกทำลายหรือเสียหายเพียงแค่เพราะว่าคุณไม่ได้ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสเอาไว้ในเครื่อง หรือใครที่ติดตั้งเอาไว้แล้วก็ไม่ควรชะล่าใจ ลองตรวจสอบวันที่ของฐานข้อมูลไวรัส (Virus Definition) ถ้าเก่าเกินกว่า 30 วันก็ควรรีบทำการอัพเดตให้เป็นเวอร์ชันปัจจุบันเพื่อการป้องกันที่เต็มประสิทธิภาพ จากนั้นทำการสแกนฮาร์ดดิสก์ทั้งหมดที่ติดตั้งอยู่ในระบบ ถ้าเป็นไปได้แนะนำให้กำหนดตารางเวลาในการสแกนเป็นประจำทุกสัปดาห์
2. ปัดกวาดไฟล์หรือขยะที่ไม่ได้ใช้
ยิ่งใช้งานเครื่องมานานเท่าใด ไฟล์ข้อมูลเก่าๆ หรือขยะในเครื่องก็จะเพิ่มพูนมากขึ้นเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นไฟล์ข้อมูลเก่า โปรแกรมเก่า ไฟล์ชั่วคราวที่หลงเหลือจากการท่องอินเทอร์เน็ตรวมทั้งไฟล์ที่ตกค้างจากการติดตั้งโปรแกรมในโฟลเดอร์เก็บไฟล์ชั่วคราวของวินโดว์ส ซึ่งวิธีการง่ายๆ ในการกำจัดไฟล์ขยะเหล่านี้ก็คือการใช้ยูทิลิตี้ Disk Cleanup ของวินโดว์สหรือจากออปชันทำความสะอาดไฟล์ในโปรแกรม IE โดยตรง (Tools -> Internet Options)
3. กำจัดขยะในซอกหลืบ
แม้ว่าคุณจะทำการลบไฟล์ขยะด้วยตัวเองไปแล้ว แต่ก็ยังอาจมีเศษขยะที่มองไม่เห็นตกค้างอยู่ในฮาร์ดดิสก์ของคุณอีกมากมาย โดยเศษขยะในที่นี้หมายรวมถึงบรรดาสปายแวร์หรือแอดแวร์ต่างๆ ด้วย ซึ่งวิธีการตรวจสอบหาขยะเหล่านี้จำเป็นต้องใช้เครื่องมือพิเศษคือโปรแกรมอย่างเช่น Ad-aware หรือ Spybot Search & Destroy ที่หาดาวน์โหลดได้ฟรีจากอินเทอร์เน็ต ที่สำคัญคืออย่าลืมอัพเดตฐานข้อมูลให้กับโปรแกรมดังกล่าวก่อนเริ่มทำการสแกนระบบด้วย
4. หมั่นใช้สแกนดิสก์
เมื่อใดก็ตามที่พื้นที่เก็บข้อมูลในฮาร์ดดิสก์เกิดบกพร่องเสียหาย เรามักจะใช้คำแทนจุดบกพร่องนั้นๆ ว่า “Bad Sector” ซึ่งมีความหมายว่าบริเวณพื้นผิวของจานมารดาเหล็กเกิดความเสียหายจนไม่สามารถทำการอ่านข้อมูลได้ ซึ่งวิธีการแก้ไขนั้นคือการใช้ยูทิลิตี้ Scandisk ของวินโดว์สในการตรวจสอบหาจุดที่เกิด Bad Sector และย้ายข้อมูลที่อยู่ในบริเวณนั้นๆ ไปยังเซกเตอร์อื่นๆ ที่ปกติทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของไฟล์ข้อมูล โดยในหน้าต่างยูทิลิตี้ Scandisk นั้นให้คุณเลือกออปชัน Scan for and attempt recovery of bad sectors ด้วยก่อนเริ่มทำการสแกน นอกจากนี้หากคุณใช้ระบบปฏิบัติการ Windows 98/Me แนะนำให้ปิดการทำงานของสกรีนเซฟเวอร์ก่อนเริ่ม Scandisk ด้วย
5. จัดเรียงข้อมูลให้เป็นระเบียบ
โปรแกรม Defragmenter ที่ไม่ต้องเสียเวลาหาให้ไกลเพราะมีอยู่ในวินโดว์สทุกเวอร์ชันแล้วนั้นจะช่วยในการจัดเรียงข้อมูลที่ถูกเขียนลงฮาร์ดดิสก์อย่างสะเปะสะปะให้มีระเบียบและเป็นชิ้นเป็นอันมากขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อให้หัวอ่านฮาร์ดดิสก์ไม่ต้องทำงานหนักและใช้เวลาในการอ่านข้อมูลสั้นลง และโปรดอย่าเข้าใจผิดคิดว่าโปรแกรมจะจับไฟล์ในโฟลเดอร์ของคุณไปสลับสับเปลี่ยนหรือเรียงไว้ในโฟลเดอร์อื่นๆ จนหาไม่เจอ เพราะการ Defrag นั้นจะทำการจัดเรียงไฟล์ข้อมูลบนดิสก์เท่านั้นไม่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างการเก็บไฟล์ในวินโดว์สแต่อย่างใด
การเป็นเจ้าของและใช้งานฮาร์ดดิสก์โดยไม่เคยสแกนตรวจสอบก็เหมือนกับการมีรถยนต์คันหรูที่เอาแต่ขับอย่างเดียวไม่เคยเข้าศูนย์บริการ ซึ่งทิปต่อไปนี้สามารถกระทำได้โดยไม่ต้องลงแรงมากนัก เพียงแค่เจียดเวลาสักนิดในการปฏิบัติตาม ทั้งนี้ก็เพื่อให้ฮาร์ดดิสก์ของคุณกลับมามีชีวิตชีวาเหมือนใหม่และทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
1. สแกนหาไวรัส
จัดเป็นข้อควรปฏิบัติที่สำคัญเป็นอันดับต้นๆ ที่คุณควรให้ความสำคัญและหมั่นทำเป็นประจำ เราคงไม่ต้องบอกคุณแล้วว่าไวรัสในปัจจุบันนั้นมีฤทธิ์เดชร้ายแรงแค่ไหน เอาเป็นว่าให้คุณลองนึกถึงตอนที่ไฟล์ข้อมูลสำคัญในฮาร์ดดิสก์ถูกทำลายหรือเสียหายเพียงแค่เพราะว่าคุณไม่ได้ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสเอาไว้ในเครื่อง หรือใครที่ติดตั้งเอาไว้แล้วก็ไม่ควรชะล่าใจ ลองตรวจสอบวันที่ของฐานข้อมูลไวรัส (Virus Definition) ถ้าเก่าเกินกว่า 30 วันก็ควรรีบทำการอัพเดตให้เป็นเวอร์ชันปัจจุบันเพื่อการป้องกันที่เต็มประสิทธิภาพ จากนั้นทำการสแกนฮาร์ดดิสก์ทั้งหมดที่ติดตั้งอยู่ในระบบ ถ้าเป็นไปได้แนะนำให้กำหนดตารางเวลาในการสแกนเป็นประจำทุกสัปดาห์
2. ปัดกวาดไฟล์หรือขยะที่ไม่ได้ใช้
ยิ่งใช้งานเครื่องมานานเท่าใด ไฟล์ข้อมูลเก่าๆ หรือขยะในเครื่องก็จะเพิ่มพูนมากขึ้นเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นไฟล์ข้อมูลเก่า โปรแกรมเก่า ไฟล์ชั่วคราวที่หลงเหลือจากการท่องอินเทอร์เน็ตรวมทั้งไฟล์ที่ตกค้างจากการติดตั้งโปรแกรมในโฟลเดอร์เก็บไฟล์ชั่วคราวของวินโดว์ส ซึ่งวิธีการง่ายๆ ในการกำจัดไฟล์ขยะเหล่านี้ก็คือการใช้ยูทิลิตี้ Disk Cleanup ของวินโดว์สหรือจากออปชันทำความสะอาดไฟล์ในโปรแกรม IE โดยตรง (Tools -> Internet Options)
3. กำจัดขยะในซอกหลืบ
แม้ว่าคุณจะทำการลบไฟล์ขยะด้วยตัวเองไปแล้ว แต่ก็ยังอาจมีเศษขยะที่มองไม่เห็นตกค้างอยู่ในฮาร์ดดิสก์ของคุณอีกมากมาย โดยเศษขยะในที่นี้หมายรวมถึงบรรดาสปายแวร์หรือแอดแวร์ต่างๆ ด้วย ซึ่งวิธีการตรวจสอบหาขยะเหล่านี้จำเป็นต้องใช้เครื่องมือพิเศษคือโปรแกรมอย่างเช่น Ad-aware หรือ Spybot Search & Destroy ที่หาดาวน์โหลดได้ฟรีจากอินเทอร์เน็ต ที่สำคัญคืออย่าลืมอัพเดตฐานข้อมูลให้กับโปรแกรมดังกล่าวก่อนเริ่มทำการสแกนระบบด้วย
4. หมั่นใช้สแกนดิสก์
เมื่อใดก็ตามที่พื้นที่เก็บข้อมูลในฮาร์ดดิสก์เกิดบกพร่องเสียหาย เรามักจะใช้คำแทนจุดบกพร่องนั้นๆ ว่า “Bad Sector” ซึ่งมีความหมายว่าบริเวณพื้นผิวของจานมารดาเหล็กเกิดความเสียหายจนไม่สามารถทำการอ่านข้อมูลได้ ซึ่งวิธีการแก้ไขนั้นคือการใช้ยูทิลิตี้ Scandisk ของวินโดว์สในการตรวจสอบหาจุดที่เกิด Bad Sector และย้ายข้อมูลที่อยู่ในบริเวณนั้นๆ ไปยังเซกเตอร์อื่นๆ ที่ปกติทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของไฟล์ข้อมูล โดยในหน้าต่างยูทิลิตี้ Scandisk นั้นให้คุณเลือกออปชัน Scan for and attempt recovery of bad sectors ด้วยก่อนเริ่มทำการสแกน นอกจากนี้หากคุณใช้ระบบปฏิบัติการ Windows 98/Me แนะนำให้ปิดการทำงานของสกรีนเซฟเวอร์ก่อนเริ่ม Scandisk ด้วย
5. จัดเรียงข้อมูลให้เป็นระเบียบ
โปรแกรม Defragmenter ที่ไม่ต้องเสียเวลาหาให้ไกลเพราะมีอยู่ในวินโดว์สทุกเวอร์ชันแล้วนั้นจะช่วยในการจัดเรียงข้อมูลที่ถูกเขียนลงฮาร์ดดิสก์อย่างสะเปะสะปะให้มีระเบียบและเป็นชิ้นเป็นอันมากขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อให้หัวอ่านฮาร์ดดิสก์ไม่ต้องทำงานหนักและใช้เวลาในการอ่านข้อมูลสั้นลง และโปรดอย่าเข้าใจผิดคิดว่าโปรแกรมจะจับไฟล์ในโฟลเดอร์ของคุณไปสลับสับเปลี่ยนหรือเรียงไว้ในโฟลเดอร์อื่นๆ จนหาไม่เจอ เพราะการ Defrag นั้นจะทำการจัดเรียงไฟล์ข้อมูลบนดิสก์เท่านั้นไม่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างการเก็บไฟล์ในวินโดว์สแต่อย่างใด
6. เก็บทุกอย่างให้เข้าที่
ขั้นตอนนี้จะเรียกว่าเป็นวินัยส่วนตัวก็ว่าได้
เพราะไม่ว่าจะเป็นลิ้นชักตู้เสื้อผ้าหรือฮาร์ดดิสก์ก็ล้วนต้องการระบบระเบียบในการจัดเก็บที่ดีด้วยกันทั้งนั้น
ฟังดูอาจเป็นงานที่น่าชอบมาก
แต่ถ้าฝึกให้เป็นนิสัยตั้งแต่แรกก็แทบจะไม่ต้องทำอะไรเลย ส่วนใครที่ยังเก็บไฟล์ทุกชนิดทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นไฟล์เอกสารเวิร์ด
ไฟล์รูปภาพ ไฟล์วิดีโอ ไฟล์เพลง ฯลฯ ปนกันมั่วไว้ในโฟลเดอร์เดียวกัน
เตรียมตัวเตรียมใจกับเรื่องปวดหัวในการค้นหาไฟล์เมื่อต้องการใช้งานให้ดี
แต่ถ้าไม่อยาก ... ก็สละเวลาจัดการจัดไฟล์ลงโฟลเดอร์ให้เรียบร้อยเสียตั้งแต่วันนี้
7. แบ็กอัพข้อมูล
ไม่มีฮาร์ดดิสก์รุ่นไหน ยี่ห้อใด ที่จะมีอายุยืนยาวอยู่กับคุณไปตลอดกาล แต่ถึงแม้ในที่สุดฮาร์ดดิสก์ของคุณจะหมดอายุขัย ก็ไม่ได้หมายความว่าข้อมูลทั้งหมดที่เก็บอยู่ในนั้นจะสูญหายไปด้วย เพียงแต่สิ่งที่คุณควรต้องหมั่นทำเป็นกิจวัตรก็คือการแบ็กอัพไฟล์ข้อมูลสำคัญๆ เก็บไว้ในฟล๊อบปี้ดิสก์ แผ่นซีดี ดีวีดี หรืออื่นๆ ที่ไม่ใช่ฮาร์ดดิสก์ตัวที่ใช้งานอยู่ หรือถ้าที่กล่าวมานั้นมันยุ่งยากหรือทำให้คุณลำบากเกินไป แนะนำให้ใช้ทัมป์ไดรฟ์ที่ปัจจุบันมีราคาแสนถูก และถ้าไม่ลำบากเงินในกระเป๋าจนเกินไปเลือกรุ่นที่จุ128MB ขึ้นไปจะดีมาก
8. เทขยะอย่าให้เหลือไฟล์ตกค้าง
เมื่อคุณกดปุ่ม Delete เพื่อลบไฟล์ ซึ่งในทางปฏิบัติดูเหมือนว่าไฟล์ข้อมูลของคุณจะถูกลบออกไป แต่ในทางทฤษฎีนั้นไฟล์ของคุณจะยังไม่ถูกลบออกไปจริงๆ เพียงแต่วินโดว์สจะทำเครื่องหมายไว้ในพื้นที่ส่วนนั้นๆ ว่าเป็นที่ว่างและเมื่อใดที่มีการเขียนไฟล์ข้อมูลก็สามารถเขียนทับตำแหน่งนั้นๆ ได้ นอกจากนี้วินโดว์สจะนำไฟล์ที่คุณลบไปใส่ไว้ในถังขยะ (Recycle Bin) เผื่อกรณีที่คุณเกิดเปลี่ยนใจหรือตัดสินใจพลาด หากใครช่างสังเกตจะพบว่าแม้จะลบไฟล์ข้อมูลไปแล้วแต่พื้นที่ว่างในอาร์ดดิสก์นั้นไม่ได้เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด ทั้งนี้ก็เพราะข้อมูลนั้นๆ ยังนอนรอชะตากรรมอยู่ในถังขยะ (Recycle Bin) นั่นเอง ดังนั้นหากคุณมั่นใจว่าไม่ใช้งานแล้ว หรือไม่ต้องการให้ใครมาแอบคุ้ยถังขยะเอาข้อมูลส่วนตัวของคุณไป แนะให้คลิกขวาที่ไอคอน Recycle Bin แล้วเลือกคำสั่ง Empty Recycle Bin เพื่อกำจัดขยะในถังให้สิ้นซาก
9. แบ่งพาร์ทิชันเพื่อเก็บข้อมูล
ฮาร์ดดิสก์โดยทั่วไปที่ออกมาจากโรงงานนั้นจะไม่มีการแบ่งพาร์ทิชันเอาไว้ หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆ คือซื้อ 80GB ก็จะได้ไดรฟ์C: ความจุ 80GB มาใช้งาน แต่ถ้าจะให้ดี แนะนำให้คุณทำการแบ่งฮาร์ดดิสก์ออกเป็นส่วนๆ หรือที่เรียกว่าการแบ่งพาร์ทิชันนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น ฮาร์ดดิสก์ 80GB นำมาแบ่งเป็น 2 พาร์ทิชัน พาร์ทิชันละ 40GB ซึ่งคุณก็จะได้ไดรฟ์มาใช้งาน 2 ไดรฟ์คือไดรฟ์ C:และไดรฟ์ D: ซึ่งการแบ่งพาร์ทิชันนอกจากจะช่วยลดภาระของหัวอ่านและเพิ่มความเร็วในการทำงานของฮาร์ดดิสก์แล้ว คุณยังสามารถแยกไฟล์สำคัญๆ มาเก็บไว้ในไดรฟ์แยกต่างหากจากไดรฟ์ที่ติดตั้งวินโดว์สซึ่งอาจโดนไวรัสเล่นงานจนเสียหายได้อีกด้วย ซึ่งการแบ่งพาร์ทิชันนั้นคุณสามารถทำได้ในขณะที่ติดตั้ง Windows XP เลย แต่ถ้าไม่ได้ทำก็ไม่เป็นไรเพราะปัจจุบันมีโปรแกรมสำหรับการนี้มากมายซึ่งที่นิยมใช้กันมากที่สุดได้แก่โปรแกรม Partition Magic
10. เลือกความเร็วให้เหมาะกับงาน
วิธีการที่ผ่านมานั้นสามารถช่วยให้ฮาร์ดดิสก์ของคุณสามารถทำงานได้เร็วขึ้นได้อีกเล็กน้อย อย่างไรก็ดี หากคุณกำลังมองหาหรือตัดสินใจซื้อฮาร์ดดิสก์ใหม่ แนะนำให้พิจารณาเลือกรุ่นความเร็วที่เหมาะสมกับลักษณะงานที่คุณต้องการใช้งาน เช่น เลือกรุ่นที่มีความเร็วในการหมุนจานมารดาเหล็ก 5,400 RPM (รอบ/นาที) ที่มีราคาถูกถ้าคุณใช้เพียงโปรแกรมทั่วๆ ไปเช่น เล่นอินเทอร์เน็ต รับ-ส่งอีเมล์ หรือพิมพ์งานด้วยโปรแกรมเวิร์ด หรือถ้างานของคุณเกี่ยวกับการตกแต่งภาพถ่าย เล่นเกม ก็อาจเลือกซื้อรุ่น 7200 RPM หรืออาจจะเป็น 10,000 RPM เลยก็ได้หากทำงานประเภทตัดต่อวิดีโอเป็นหลัก ซึ่งฮาร์ดดิสก์ที่มีความเร็วในการหมุนจานมารดาเหล็กสูงและมีขนาดของแคชภายในมากจะช่วยเพิ่มความเร็วในการทำงานให้กับคุณมากยิ่งขึ้น
7. แบ็กอัพข้อมูล
ไม่มีฮาร์ดดิสก์รุ่นไหน ยี่ห้อใด ที่จะมีอายุยืนยาวอยู่กับคุณไปตลอดกาล แต่ถึงแม้ในที่สุดฮาร์ดดิสก์ของคุณจะหมดอายุขัย ก็ไม่ได้หมายความว่าข้อมูลทั้งหมดที่เก็บอยู่ในนั้นจะสูญหายไปด้วย เพียงแต่สิ่งที่คุณควรต้องหมั่นทำเป็นกิจวัตรก็คือการแบ็กอัพไฟล์ข้อมูลสำคัญๆ เก็บไว้ในฟล๊อบปี้ดิสก์ แผ่นซีดี ดีวีดี หรืออื่นๆ ที่ไม่ใช่ฮาร์ดดิสก์ตัวที่ใช้งานอยู่ หรือถ้าที่กล่าวมานั้นมันยุ่งยากหรือทำให้คุณลำบากเกินไป แนะนำให้ใช้ทัมป์ไดรฟ์ที่ปัจจุบันมีราคาแสนถูก และถ้าไม่ลำบากเงินในกระเป๋าจนเกินไปเลือกรุ่นที่จุ128MB ขึ้นไปจะดีมาก
8. เทขยะอย่าให้เหลือไฟล์ตกค้าง
เมื่อคุณกดปุ่ม Delete เพื่อลบไฟล์ ซึ่งในทางปฏิบัติดูเหมือนว่าไฟล์ข้อมูลของคุณจะถูกลบออกไป แต่ในทางทฤษฎีนั้นไฟล์ของคุณจะยังไม่ถูกลบออกไปจริงๆ เพียงแต่วินโดว์สจะทำเครื่องหมายไว้ในพื้นที่ส่วนนั้นๆ ว่าเป็นที่ว่างและเมื่อใดที่มีการเขียนไฟล์ข้อมูลก็สามารถเขียนทับตำแหน่งนั้นๆ ได้ นอกจากนี้วินโดว์สจะนำไฟล์ที่คุณลบไปใส่ไว้ในถังขยะ (Recycle Bin) เผื่อกรณีที่คุณเกิดเปลี่ยนใจหรือตัดสินใจพลาด หากใครช่างสังเกตจะพบว่าแม้จะลบไฟล์ข้อมูลไปแล้วแต่พื้นที่ว่างในอาร์ดดิสก์นั้นไม่ได้เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด ทั้งนี้ก็เพราะข้อมูลนั้นๆ ยังนอนรอชะตากรรมอยู่ในถังขยะ (Recycle Bin) นั่นเอง ดังนั้นหากคุณมั่นใจว่าไม่ใช้งานแล้ว หรือไม่ต้องการให้ใครมาแอบคุ้ยถังขยะเอาข้อมูลส่วนตัวของคุณไป แนะให้คลิกขวาที่ไอคอน Recycle Bin แล้วเลือกคำสั่ง Empty Recycle Bin เพื่อกำจัดขยะในถังให้สิ้นซาก
9. แบ่งพาร์ทิชันเพื่อเก็บข้อมูล
ฮาร์ดดิสก์โดยทั่วไปที่ออกมาจากโรงงานนั้นจะไม่มีการแบ่งพาร์ทิชันเอาไว้ หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆ คือซื้อ 80GB ก็จะได้ไดรฟ์C: ความจุ 80GB มาใช้งาน แต่ถ้าจะให้ดี แนะนำให้คุณทำการแบ่งฮาร์ดดิสก์ออกเป็นส่วนๆ หรือที่เรียกว่าการแบ่งพาร์ทิชันนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น ฮาร์ดดิสก์ 80GB นำมาแบ่งเป็น 2 พาร์ทิชัน พาร์ทิชันละ 40GB ซึ่งคุณก็จะได้ไดรฟ์มาใช้งาน 2 ไดรฟ์คือไดรฟ์ C:และไดรฟ์ D: ซึ่งการแบ่งพาร์ทิชันนอกจากจะช่วยลดภาระของหัวอ่านและเพิ่มความเร็วในการทำงานของฮาร์ดดิสก์แล้ว คุณยังสามารถแยกไฟล์สำคัญๆ มาเก็บไว้ในไดรฟ์แยกต่างหากจากไดรฟ์ที่ติดตั้งวินโดว์สซึ่งอาจโดนไวรัสเล่นงานจนเสียหายได้อีกด้วย ซึ่งการแบ่งพาร์ทิชันนั้นคุณสามารถทำได้ในขณะที่ติดตั้ง Windows XP เลย แต่ถ้าไม่ได้ทำก็ไม่เป็นไรเพราะปัจจุบันมีโปรแกรมสำหรับการนี้มากมายซึ่งที่นิยมใช้กันมากที่สุดได้แก่โปรแกรม Partition Magic
10. เลือกความเร็วให้เหมาะกับงาน
วิธีการที่ผ่านมานั้นสามารถช่วยให้ฮาร์ดดิสก์ของคุณสามารถทำงานได้เร็วขึ้นได้อีกเล็กน้อย อย่างไรก็ดี หากคุณกำลังมองหาหรือตัดสินใจซื้อฮาร์ดดิสก์ใหม่ แนะนำให้พิจารณาเลือกรุ่นความเร็วที่เหมาะสมกับลักษณะงานที่คุณต้องการใช้งาน เช่น เลือกรุ่นที่มีความเร็วในการหมุนจานมารดาเหล็ก 5,400 RPM (รอบ/นาที) ที่มีราคาถูกถ้าคุณใช้เพียงโปรแกรมทั่วๆ ไปเช่น เล่นอินเทอร์เน็ต รับ-ส่งอีเมล์ หรือพิมพ์งานด้วยโปรแกรมเวิร์ด หรือถ้างานของคุณเกี่ยวกับการตกแต่งภาพถ่าย เล่นเกม ก็อาจเลือกซื้อรุ่น 7200 RPM หรืออาจจะเป็น 10,000 RPM เลยก็ได้หากทำงานประเภทตัดต่อวิดีโอเป็นหลัก ซึ่งฮาร์ดดิสก์ที่มีความเร็วในการหมุนจานมารดาเหล็กสูงและมีขนาดของแคชภายในมากจะช่วยเพิ่มความเร็วในการทำงานให้กับคุณมากยิ่งขึ้น
วิธีแก้ปัญหา Virus Win32.Sality.aa
ไวรัสตัวนี้ร้ายมหาศาลครับ
ไวรัสตัวนี้ที่ผมเคยเจอ มันจะเกาะติดกับไฟล์ .exe ทุกไฟล์เลยครับผม ทุกไดร์ฟ มีวิธีเดียวคือ Format แล้วลงใหม่ครับผม เมื่อลง Windows เสร็จแล้วให้ลง KIS แล้ว update ให้ใหม่ล่าสุด แล้วจัดการสแกนอีกรอบครับผม เพราะมันจะอยู่ใน System Volume Information ด้วยทั้งในไดร์ฟ C และไดร์ฟอื่นๆครับผม ไม่อย่างนั้นมันก็จะฟื้นคืนชีพมาติดอีก
ไวรัสตัวนี้ที่ผมเคยเจอ มันจะเกาะติดกับไฟล์ .exe ทุกไฟล์เลยครับผม ทุกไดร์ฟ มีวิธีเดียวคือ Format แล้วลงใหม่ครับผม เมื่อลง Windows เสร็จแล้วให้ลง KIS แล้ว update ให้ใหม่ล่าสุด แล้วจัดการสแกนอีกรอบครับผม เพราะมันจะอยู่ใน System Volume Information ด้วยทั้งในไดร์ฟ C และไดร์ฟอื่นๆครับผม ไม่อย่างนั้นมันก็จะฟื้นคืนชีพมาติดอีก
ลักษณะการทำงาน
* Win32/Sality.NAR มันจะจำลองตัวเองเป็นไฟล์ที่ติดเชื้อ
*มันจะ้เข้าไปทำให้ Firewall เราไม่ทำงาน
*ไวรัสตัวนี้จะจำลองตัวเอง โดยการค้นหา drives ทุกๆ drive ไม่ว่าจะเครื่องคุณเอง หรือใน เน็ตเวิร์ค!! มันจะเข้าไปแตกไฟล์ .exeและแฝงตัวโดยเพิ่มบางส่วนเข้าไปในไฟล์ .exe นั้น เมื่อเรามีการ run ไฟล์ .exe ขึ้นมาตามปกติ เจ้าไวรัสตัวนี้มันก็จะถูกเปิดขึ้นมาด้วย เพราะระบบจะบอกเป็นโปรแกรมพื้นฐานที่เราต้องเปิด
* ไวรัสมันจะมาแก้ไข registry ลองสำรวจดูครับ ว่าใน run มีอะไรแปลกปลอมหรือเปล่า
*ฉะนั้น!! จากข้างต้น ไวรัสจะถูกเข้าถึงทุึกครั้งที่เครื่องเรา start ขึ้นมา
* และมันจะแพร่กระจายไปตาม Flash Drive, Thumb Drive แล้วแต่จะเรียกนะ มันจะเข้าไปแล้ว copy ตัวเองแฝงไว้ที่ directoryแรก นั่นคือเปิดไปก็เจอเลย โดยมันจะ "สุ่ม ชื่อ" (หาใน google ยังไงก็ไม่เจอ) ที่มีนามสกุล ดังนี้ .exe .pif .cmd
* จากนั้นก็ทำการฝัง autorun.inf เข้าไปด้วย
* เมื่อเอา flash drive ไปเสียบ ที่ไหน ไวรัสมันก็จะ run ทันทีครับ
* มันจะลบไฟล์พวก *.vdb *.avc *drw*.key
* และซ้ำร้าย มันยังไปสั่งไม่ให้โปรแกรมพวกนี้ทำงานด้วยครับ !! ทำนองเดียวกับ anti_antivirus ที่ผมเคยเจอเลย มันจะ block ไม่ให้พวกโปรแกรม anti virus ทำงานครับ
* และอื่น ๆ อีกมากมาย
* Win32/Sality.NAR มันจะจำลองตัวเองเป็นไฟล์ที่ติดเชื้อ
*มันจะ้เข้าไปทำให้ Firewall เราไม่ทำงาน
*ไวรัสตัวนี้จะจำลองตัวเอง โดยการค้นหา drives ทุกๆ drive ไม่ว่าจะเครื่องคุณเอง หรือใน เน็ตเวิร์ค!! มันจะเข้าไปแตกไฟล์ .exeและแฝงตัวโดยเพิ่มบางส่วนเข้าไปในไฟล์ .exe นั้น เมื่อเรามีการ run ไฟล์ .exe ขึ้นมาตามปกติ เจ้าไวรัสตัวนี้มันก็จะถูกเปิดขึ้นมาด้วย เพราะระบบจะบอกเป็นโปรแกรมพื้นฐานที่เราต้องเปิด
* ไวรัสมันจะมาแก้ไข registry ลองสำรวจดูครับ ว่าใน run มีอะไรแปลกปลอมหรือเปล่า
*ฉะนั้น!! จากข้างต้น ไวรัสจะถูกเข้าถึงทุึกครั้งที่เครื่องเรา start ขึ้นมา
* และมันจะแพร่กระจายไปตาม Flash Drive, Thumb Drive แล้วแต่จะเรียกนะ มันจะเข้าไปแล้ว copy ตัวเองแฝงไว้ที่ directoryแรก นั่นคือเปิดไปก็เจอเลย โดยมันจะ "สุ่ม ชื่อ" (หาใน google ยังไงก็ไม่เจอ) ที่มีนามสกุล ดังนี้ .exe .pif .cmd
* จากนั้นก็ทำการฝัง autorun.inf เข้าไปด้วย
* เมื่อเอา flash drive ไปเสียบ ที่ไหน ไวรัสมันก็จะ run ทันทีครับ
* มันจะลบไฟล์พวก *.vdb *.avc *drw*.key
* และซ้ำร้าย มันยังไปสั่งไม่ให้โปรแกรมพวกนี้ทำงานด้วยครับ !! ทำนองเดียวกับ anti_antivirus ที่ผมเคยเจอเลย มันจะ block ไม่ให้พวกโปรแกรม anti virus ทำงานครับ
* และอื่น ๆ อีกมากมาย
วิธีแก้ไวรัส sality โดยใช้โปรแกรมช่วยแก้ไวรัสของแอนตี้ไวรัส KASPERSKY
ไวรัสตัวนี้ติดกันเยอะติดกันมานาน หลักการทำงานของไวรัส ตัวนี้คือ เมื่อติดแล้วจะเข้าไปฝังอยู่ในไฟล์นามสกุล .exe ในเครื่องของเรายิ่งติดนานยิ่งฝังไปทุกโปรแกรมเลย ไม่เว้นแม้แต่โปรแกรมแอนตี้ไวรัสก็โดนไวรัสตัวนี้เกาะแล้วทำให้แอนตี้ไวรัสทำงานไม่ได้เลยแนวทางการแก้ไขและเครื่องมือช่วยแก้ไวรัสตัวนี้ผมนำมาจากเว็บ KASPERSKY ครับ
เริ่มแก้กันเลยครับ
เตรียมไฟล์มาก่อน
1.โหลดไฟล์ช่วยหยุดไวรัสมาก่อนครับ SALITY_OFF.ZIP
http://www.webphand.com/sality/Sality_off.zip
2.ไฟล์โปรแกรมแอนตี้ไวรัสKaspersky Internet Security 7.0 (หากเครื่องคุณมีแอนตี้ไวรัสอยู่ให้ลบทิ้งไปเลยครับ)
http://www.webphand.com/sality/kis7.0.1.325en.zip
3.ไฟล์ซ่อมอาการเข้า safmode ไม่ได้สำหรับ
· win
xp >> http://www.webphand.com/sality/SafeBootWinXP.zip
· ปิด Autorun >> http://www.webphand.com/sality/Disable%20autorun.zip
ขั้นตอนการแก้ไข
ข้อควรจำนะครับหลังจากโหลดไฟล์เสร็จแล้วไม่ต้องคลายออกมาจาก Zip นะครับ คลายออกปุ๊บโดนมันเกาะปั๊บแน่ๆครับให้เปิดไฟล์ Sality_off ในไฟล์ zipเลยครับ
ไม่ต้องคลายออกมาครับ เปิดแล้วโปรแกรม Sality_offจะทำการสแกนและหยุดไวรัส Salityครับ รอจนเสร็จครับอาจจะนานหน่อยก็ต้องรอครับ โดยโปรแกรมนี้จะสแกนทุกๆไดว์ฟทุกๆไฟล์ที่น่าสงสัยว่า Salityเกาะอยู่ครับเมื่อเสร็จแล้วจะขึ้นให้คุณกดปุ่มใดก็ได้ครับ แล้วก็ติดตั้งแอนตี้ไวรัสเลยครับ หรือหากมี kaspersky อยู่แล้วก็ให้รีสตาร์ทเครื่องเลยครับหรือหากไม่มีต้องติดตั้งก่อนครับ เมื่อติดตั้งเสร็จแล้วก็สแกนเลยครับระหว่างที่สแกนก็จะพบว่าไฟล์โปรแกรมของเราโดนไวรัสเกาะอยู่ kaspersky จะถามเราว่าจะทำอย่างไร ให้เรากด Disinfect ครับเพื่อที่จะลบไวรัสออกจากไฟล์โปรแกรมของเรา
ขั้นตอนการแก้ไข
ข้อควรจำนะครับหลังจากโหลดไฟล์เสร็จแล้วไม่ต้องคลายออกมาจาก Zip นะครับ คลายออกปุ๊บโดนมันเกาะปั๊บแน่ๆครับให้เปิดไฟล์ Sality_off ในไฟล์ zipเลยครับ
ไม่ต้องคลายออกมาครับ เปิดแล้วโปรแกรม Sality_offจะทำการสแกนและหยุดไวรัส Salityครับ รอจนเสร็จครับอาจจะนานหน่อยก็ต้องรอครับ โดยโปรแกรมนี้จะสแกนทุกๆไดว์ฟทุกๆไฟล์ที่น่าสงสัยว่า Salityเกาะอยู่ครับเมื่อเสร็จแล้วจะขึ้นให้คุณกดปุ่มใดก็ได้ครับ แล้วก็ติดตั้งแอนตี้ไวรัสเลยครับ หรือหากมี kaspersky อยู่แล้วก็ให้รีสตาร์ทเครื่องเลยครับหรือหากไม่มีต้องติดตั้งก่อนครับ เมื่อติดตั้งเสร็จแล้วก็สแกนเลยครับระหว่างที่สแกนก็จะพบว่าไฟล์โปรแกรมของเราโดนไวรัสเกาะอยู่ kaspersky จะถามเราว่าจะทำอย่างไร ให้เรากด Disinfect ครับเพื่อที่จะลบไวรัสออกจากไฟล์โปรแกรมของเรา
แต่บางไฟล์โดนไวรัสเกาะลึกเกินไปก็ไม่สามารถลบไวรัสออกจากไฟล์ได้ kaspersky จะขึ้นมาถามอีกครั้งโดยที่จะมีให้กด แค่ deleted กับ Skip
ให้กด deleted เลยครับหากเป้นโปรแกรมสำคัญหรือไฟล์สำคัญให้เราจำไว้ครับ แล้วไปก๊อปไฟล์นี้จากเครื่องอื่นที่ไม่โดนไวรัสเกาะมาใส่แทนครับ
ระหว่างสแกนไวรัสนั้นหาก kaspersky ขึ้นมาถามให้คุณกดปุ่มลบไวรัสบ่อยๆ หากเราไม่อยากต้องคอยกดปุ่มdeleted ก็ให้คลิกถูกหน้าบรรทัด
Apply to all kaspersky ก็จะไม่ถามอีกครับ
ต่อไปก็เปิดไฟล์ซ่อมอาการเข้า safmode ไม่ได้ครับ เลือกเอาครับว่ากำลังใช้วินโดว์อะไรอยู่
แล้วก็เปิดไฟล์ ปิดออโต้รันด้วยครับ ช่วยป้องกันไวรัสจากแฟลชไดว์ฟได้อีกระดับหนึ่งครับ
ไฟล์ซ่อมอาการเข้า safmode ไม่ได้สำหรับ
· win
xp >> http://www.webphand.com/sality/SafeBootWinXP.zip
· ปิด Autorun >> http://www.webphand.com/sality/Disable%20autorun.zip
ศึกษาเพิ่มเติมที่ http://www.webphand.com/sality/fix.php
เรียบเรียงโดยช่างป่าน
www.webphand.com
วิธีแก้ไวรัส sality
เรียบเรียงโดยช่างป่าน
www.webphand.com
วิธีแก้ไวรัส sality
เรียบเรียงใหม่โดย pairat 2009
เตรียมไฟล์มาก่อนครับ
1.โหลดไฟล์ช่วยหยุดไวรัสมาก่อนครับ SALITY_OFF.ZIP
2.ไฟล์โปรแกรมแอนตี้ไวรัสKaspersky Internet Security 7.0
3.ไฟล์ซ่อมอาการเข้า safe mode ไม่ได้สำหรับ
WINDOWS XP
ขั้นตอนการแก้ไข
ขั้นตอนการแก้ไข
1.
Format ที่ C: ด้วย Hiren's BootCD
2.
นำไฟล์อิมเมจ Ghost กลับมาใช้ ด้วย Hiren's
BootCD
3.
หยุดไวรัส Win32.Sality ด้วย SALITY_OFF.ZIP
4.
แสกนไวรัสด้วย Kaspersky
5.
ซ่อมอาการเข้า safe mode ไม่ได้สำหรับWINDOWS XP
6.
ถอดถอนและติดตั้งโปรแกรมที่ไม่สามารถ run ได้ใหม่
7.
ตรวจเช็คซ่อมแซม Registry ด้วย Registry.Repair 2.2
8.
ตรวจเช็คและซ่อมแซมด้วยError Repair Professional
9.
ทำความสะอาดด้วย CCleaner และ Registry
Winner
10.
จัดเรียงข้อมูลใหม่ด้วย AusLogics Disk Defrag
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น